top of page

รักษ์อากาศ

          อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่ม๊กลิ่น
บรรยากาศคืออะไร
         บรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น  นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น  ตามอุณหภูมิ  ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)  ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere)  เมโสสเฟียร์ (Mesosphere)  และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere)  อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

          อากาศมีประโยชน์ต่อโลกที่เราอาศัยอยู่และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลอากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกที่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะอยู่ในบริเวณที่นับจากพื้นผิวโลกขึ้นไปประมาณ 5 – 6 กิโลเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวมีออกซิเจนและก๊าซต่าง ๆ เป็นองประกอบที่ค่อนค่างคงที่ แต่ปรากฏว่าปัจจุบันโลกของเราได้รับผล กระทบจากมลภาวะของอากาศอย่างมาก

ประโยชน์ของอากาศ
         อากาศมีประโยชน์ต่อโลกและมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช
ที่อาศัยอยู่บนโลก ดังนี้
• ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก
• ป้องกันอันตรายจากรังสีอนุภาคต่าง ๆ
• ใช้ในการหายใจของมนุษย์
• ใช้ในการหายใจของสัตว์
• ใช้ในการหายใจของพืช
• ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
• ใช้ในการคมนาคมและการสื่อสาร
• อากาศและส่วนประกอบต่าง ๆของอากาศทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
• อากาศช่วยทำให้เกิดการเผ่าไม่ของเชื้อเพลิง

แหล่งที่มาของอากาศเสีย

อากาศเสียจากแหล่งใหญ่ 2  แหล่ง  คือ  แหล่งธรรมชาติ  และแหล่งทำกิจกรรมของมนุษย์
1. แหล่งธรรมชาติ อากาศเสียที่เกิดจากแหล่งชาติมีดังนี้
• ภูเขาไฟระเบิด

• ไฟป่า
• การย่อยสะลายของสารอินทรี
2. แหล่งทำกิจกรรมของมนุษย์   ปัจจุบันประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้กิจกรรมต่างๆ 
ของมนุษย์หลายกิจกรรมก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ  ดังนี้
• การคมนาคม
• โรงงานอุตสาหกรรม
• การก่อสร้าง  การระเบิดหิน  และโม่หิน
• แหล่งเกษตรกรรม
• การทำเหมือนแร่
• การทิ้งขยะและกำจัดขยะชุมช

สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะของอากาศ

         การเกิดมลภาวะของอากาศมีสาเหตุมาจากมีสารบางชนิดเจือปนอยู่ในปริมาณมากเกินไปจนก่อให้เกิดโทษต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งของต่าง ๆ  สารเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และมีบางส่วนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ  จำแนกได้  2  ประเภท คือ อนุภาคของสาร  และก๊าซและไอต่าง ๆ
1.  อนุภาคสารต่าง ๆ
• ฝุ่น
• ควัน
• ขี้เถ้า
• เขม่า
• ละออง
2.  ก๊าซและไอต่าง ๆ
• คาร์บอนไดออกไซด์
• คาร์บอนมอนอกไซด์
• ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
• ออกไซด์ของไนโตรเจน
• สารตะกั่ว
• สารอินทรีที่ระเหยง่า

การทำลายโอโซนในบรรยากาศ
          โอโซน (O3) คือ ออกซิเจน (O2) ในบรรยากาศที่ทำปฏิกิริยากับฟ้าแลป ฟ้าผ่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา โอโซนในบรรยากาศ ลดลงไปมาก การทำลายโอโซน ( ozone depletion )ขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ
         ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตากร์ติกาบาง กว่าบริเวณอื่น ๆ อย่างมาก โอโซนลดลงส่งผลให้รังสีอัลตราไวโอเล็ต จากดวงอาทิตย์ส่งผ่านมายังโลกได้มากขึ้น  รังสี  UVc มีพลังงานมากที่สุดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนัง มะเร็งที่เรตินา  ต้อกระจกระบบภูมิคุ้มกัน และสารพันธุกรรมถูกทำลาย พืชเจริญเติบโตช้าลง วัสดุที่ทำจากสารสังเคราะห์จธแตกหักเสียหายง่าย สีซีดจางเร็ว
สาเหตุของการทำลายโอโซน
          การใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ( CFC ) ซึ่งได้จาก

• สารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ

• อุตสาหกรรมผลิตโฟม   

• บรรจุภัณฑ์แบบฉีดพ่น   

• น้ำยาทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ

          1. ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ที่มีมลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ
          2. เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบการปล่อยมลสารต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภาวะมลพิษทางอากาศจากโรงงาน
          3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาใช้เป็นพลังงานเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในที่โล่ง
          4. ปรับปรุงระบบการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร ถูกหลักวิชาการ เพื่อลดการเผาขยะในที่โล่ง
          5. ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า และฟื้นฟูสภาพหลังเกิดไฟป่า
          6. ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลด ภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน
          7. ลดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีสารประกอบของสารที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เช่น สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC ) เป็นต้น
          8. สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน
          9. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวมในการป้องกันแก้ไขมิให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ
          10. ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ

bottom of page